มวยสยาม

http://muaysiam.siam2web.com/


ประวัติมวยหญิง --ความเป็นมา..มวยหญิง
          เป็นที่รับราบกันว่า “มวย”คือกีฬาการต่อสู้ของลูกผู้ชายอกสามศอก เพราะเป็นเกมที่ต้องอาศัยพละกำลังความแข็งแกร่งของร่างกาย และ เทคนิคการใช้นวอาวุธเข้าห้ำหั่นกัน แต่เมื่อโลกวิวัฒนาการด้านต่างๆขึ้นรวมทั้งสิทธิมนุษยชนที่เปิดกว้างให้การยอมรับกันต่อมาว่าหญิงเทียบเท่ากับชาย จนกระทั่งมีความพยายามที่จะผลักดันให้ผู้หญิงหันมาชกมวยทั้งในรูปแบบมวยไทยและมวยสากล โดยเฉพาะเมืองไทยซึ่งมี”มวย”เป็นพื้นฐานที่ควบคู่กับวิถีชีวิตของเผ่าพันธุ์มาตั้งแต่โบราณกาลระยะเวลาหลายสิบปีกับความเพียรพยายามส่งเสริมสนับสนุนให้หญิงไทยเข้ามามีส่วนร่วม และเพิ่งจะการจัดการแข่งขันกันถี่ขึ้นในเวทีภูธร ปริมณฑลและเมืองกรุง กระทั่งขยับขยายในระดับนานาชาติเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว”มวยหญิง”จะได้รับความนิยมหรือก้าวไปได้สวยบนสังเวียนระดับโลกมากน้อยเพียงไรจึงกลายเป็นหัวข้อที่ต้องวิเคราะห์ถึงอนาคตความเป็นไปได้และใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์เว็บไซด์ มวยหญิง ขอนำเสนอพัฒนาการของ”มวยหญิง”
          ทำไมจึงต้องมี “มวยหญิง”บนสังเวียนการต่อสู้ ส่วนใหญ่แล้วเกมกีฬาที่มีผู้ชายเป็นผู้เล่นหรือรวมแข่งขันภายใต้กฎกติกาสากลของแต่ละประเภทนั้น สามารถดึงดูดคนดูได้ทุกเพศทุกวัย เพราะแต่ละเกมล้วนมีเสน่ห์ความตื่นเต้นเร้าใจน่าติดตามอยู่ในตัวของมันเองขึ้นอยู่ที่ว่าใครจะหลงใหลคลั่งไคล้กีฬาชนิดไหนมากกว่ากัน แต่กีฬา”มวย”มักมีข้อจำกัดเนื่องจากแต่ไหนแต่ไรมาเป็นเกมการต่อสู้สำหรับลูกผู้ชายที่อาศัยพละกำลังและเชิงชั้นเข้าพิสูจน์ผลแพ้ชนะกันแบบตัวต่อตัวก่อนจะเปิดทางให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในเกมดังที่เกริ่นไว้ข้างต้นอย่างไรก็ตามจำนวนคนดูเกิน 90 เปอร์เซ็นต์ก็เป็นผู้ชายทั้งสิ้น ฉะนั้นในต่างประเทศจึงมีความพยายามที่จะสร้างจุดสนใจให้ผู้หญิงเข้ามาเป็นแฟนขาประจำติดตามการแข่งขันเพื่อเพิ่มเม็ดเงินจากอัตราค่าผ่านประตูมากขึ้น เพราะปัจจุบันแทบไม่มีลูกค้าที่เป็นผู้หญิงเลย ดังนั้น “ไลล่า อาลี”บุตรสาว “มูฮัมหมัด อาลี”อดีตแชมป์โลกรุ่นยักษ์ผู้ยิ่งใหญ่ชาวอเมริกัน เลยถูกนำมาสร้างชื่อเป็น “จุดขาย”บนสังเวียนเลือดเจริญรอยตามพ่อจนกระทั่งโด่งดังกลายเป็นซูเปอร์สตาร์มวยหญิงหมายเลข 1 ครองแชมป์สภามวยโลกในปัจจุบันสามารถเรียกคนดูเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีมวยหญิงระดับแชมป์โลกอีกหลายราย แต่ก็ไม่ดังเปรี๊ยงปร๊างเทียบเท่ากับ”ไลล่า”เจ้าของฉายา”ราชินีดำ” ในทางกลับกันถ้าไม่ใช่ทายาท”สิงห์จอมโว”เธอจะประสบความสำเร็จถึงขั้นดังกระฉ่อนโลกหรือไม่ยังสงสัย.!?
          “มวยหญิงไทย”กับกำแพงจารีตประเพณี เมืองไทยจะได้ชื่อว่าเป็น “เมืองมวย” แต่ไม่ใช่เวทีสำหรับผู้หญิง ทั้งที่ในความเป็นจริงนับตั้งแต่อดีตหญิงไทยออกศึกสงครามรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้ชายสามารถสร้างวีรกรรมมากมายจนบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทยให้อนุชนรุ่นหลังได้รึกลึกนึกถึงความเก่งกล้าเยี่ยงชายชาตรีไม่ว่าจะเป็น พระศรีสุริโยทัย ท้าวเทพกษัตรีย์-ท้าวศรีสุนทร ท้าวสุรนารี หรือ “ย่าโม” เป็นต้นแม้ว่าปัจจุบันหญิงไทยจะแสดงศักยภาพเกี่ยวกับความรู้ความสามารถทุกๆด้านทัดเทียมผู้ชายไม่ใช่ช้างเท่าหลังเหมือนอดีตให้เป็นที่ประจักษ์ทั่วทุกวงการแล้วก็ตาม แต่กับการหันมาขึ้นสังเวียนชกมวยกลับถูกแบ่งแยกขึ้นชกเวทีเดียวกันไม่ได้ เนื่องจาก”มวยไทย”เป็นศาสตร์และศิลปะการต่อสู้ที่ยึดมั่นอยู่กับความเชื่อก่อนขึ้นเวทีต้องกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ปกป้องคุ้มภัย และบริกรรมคาถาให้แคล้วคลาดเพื่อเป็นสิริมงคล และยังไหว้ครูผู้ประสิทธิประสาทวิชาให้ประสบชัยชนะ จึงห้ามผู้หญิงขึ้นไปชกร่วมเวทีเดียวกันเกรงว่ามนตราจะเสื่อมอะไรเทือกนั้น ซึ่งถือเป็นจารีตประเพณีและความเชื่อที่สืบทอดกันมายาวนานด้วยเหตุที่มีข้อจำกัด”มวยหญิง”ที่จัดกันในเมืองไทยจำเป็นต้องแยกไปชกอีกเวที แต่ก็ใช่ว่าจะเกิดความฉุกละหุกจนขาดรสชาติในการนั่งชมมากนัก ซึ่งแตกต่างกับสังเวียนต่างประเทศที่ขึ้นชกเวทีเดียวกันได้ทำให้การดำเนินการสะดวกสบายตรึงคนดูให้ติดตามชมเกมอย่างต่อเนื่อง“มวยไทยหญิง”เริ่มแข่งขันจากเวทีต่างจังหวัดตามงานวัดหรืองานบุญประเพณีเมื่อหลายปีก่อน โดย “เจ๊เบญจมาศ ชุณหเสวี” หัวหน้าคณะ “อมรรัตน์”ริเริ่มดำเนินการจัดการแข่งขันมวยไทยหญิง พอมีชื่อเสียงก็จัดแจงส่งไปโชว์ลีลาที่ประเทศญี่ปุ่น เพราะเดิมทีชาวอาทิตย์อุทัยเป็นแฟนมวยไทยชายเหนียวแน่นมานานเนถึงขนาดส่งนักมวยซามูไรมาชกเป็นแชมป์เวทีมาตรฐานราชดำเนิน เมื่อมีมวยไทยหญิงไปชกกันเองเพื่อโชว์ศิลปะการต่อสู้หรือเจอกับสาวอะโนเนะ-ญี่ปุ่นก็ยิ่งเป็นความแปลกใหม่ที่น่าสนใจแต่ตอนหลังกลับมีข่าวในแง่ลบในทำนองว่าการส่งนักมวยไทยหญิงไปชกญี่ปุ่นเป็นเพียงฉากบังหน้า ส่วนเบื้องลึกแล้วเป็นการทำธุรกิจค้ากามหรือ”ขายเนื้อสด”ทำให้ฝ่ายดำเนินการปลุกปั้นมวยไทยหญิงต้องเลิกราไปในที่สุด
          เรื่องราวของมวยไทยหญิง”เว้นวรรค”ไประยะหนึ่ง จวบจนปี 2524 ก็มีการฟื้นฟูจัดการแข่งขันมวยไทยหญิงขึ้นอีกครั้งหนึ่งซึ่งถือเป็นนัดใหญ่เป็นการยกทีมระหว่างสาวไทยกับสาวยุ่น โดยศึกครั้งนั้น “ปิ่น”มันฑนา (ณัฐนันท์) ฉวีวงษ์ บุตรสาว”บาร์โบส ฉวีวงษ์”นักมวยไทยชื่อดังในอดีต ซึ่งปัจจุบัน”ปิ่น”ณัฐนันท์ เป็นผู้จัดละครของไทยทีวีสีช่อง 3 และ”วรรณิภา แสงสว่าง”นักกรีฑาทีมชาติร่วมชกคว้าชัยเหนือสาวแดนซากุระสร้างความฮือฮาได้พอสมควร หลังจากนั้นข่าวคราวเกี่ยวกับมวยไทยหญิงก็สร่างซาไปนานร่วมสิบปีจนกระทั่งมวยไทยหญิงกลับมามีสีสันอีกครั้งในราวปี 2530 ต้นๆ เมื่อ”จงรักษ์ ศักดิ์โนนหัน”สาวห้าวจากเมืองเหนือชกชนะจนชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วประเทศ และมีคิวบินไปเพื่อแสดงความฉกาจฉกรรจ์ในเชิงมวยไทยที่สหรัฐอเมริกา แต่น่าเสียดายที่เธอชวดขึ้นชกตามโปรแกรมเพราะถูกตรวจพบว่ามีเพศชาย-หญิงในร่างเดียวกัน พร้อมๆกับความสนใจของผู้คนที่เริ่มลดลงอีกประมาณ 10 ปีต่อมาในช่วงปี 2541-2542 “อำนวย เกษบำรุง”ประธานโรงเรียนสอนมวยไทย-รังสิต นายสนามมวยเวทีรังสิต ร่วมมือกับ”พ.ต.อ.เสวก ปิ่นสินชัย (ยศขณะนั้น)”นำมวยไทยหญิงบรรจุชกร่วมรายการ”ศึกอัศวินดำ”ถ่ายทอดสดทางทีวีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.นัดละคู่ ทำให้มวยไทยหญิงถูกจับตามองอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ยืนหยัดอยู่ได้แค่ปีเศษเท่านั้นก็ต้องเลิกราเพราะศึกอัศวินดำย้ายวิกไปถ่ายทอดสดที่เวทีอื่น ประกอบกับ”อำนวย-มวยหญิง”นายสนามรูปหล่อแห่งทุ่งรังสิตอดีตนักมวยเก่าโดน 4 นักมวยหญิงในสังกัด สอยดาว ส.แจ่มใส,เจด้า ลูกเสริมศรีวรรณ,น้องกุ้ง หนองพวายิม และ ฟ้าสะท้าน ม.เมืองชุมแพ ซึ่งหนีออกจากค่ายแล้วไปแจ้งความให้ดำเนินคดีในข้อหา”กระทำอนาจาร” ซึ่งเรื่องนี้นายสนามมวยรังสิตออกโรงปฏิเสธข้อกล้าวหาเพราะมี”มือที่สาม”เข้ามายุยงใส่ร้ายป้ายสีให้เสื่อมเสียชื่อเสียงจนถึงขั้นต้องต่อสู้กันทางกฎหมาย

          วงการมวยหญิงซบเซาลงเล็กน้อยแต่แถวเวทีภูธรยังมีต่อยบ้างประปราย มาจนถึงช่วงปี 2548 ปริยากร รัตนสุบรรณ ได้กลับมาบูมมวยหญิงอีกครั้งทำให้แฟนมวยได้รู้จักชื่อของนักมวยหญิง ดาวดังมวยหญิงอีกครั้ง เช่น จอมเก๋า เหนือเซียน ช.อินสุวรรณ ,โคตรมวยหญิง ดาวพระศุกร์ เพชรโอภาส , ดาวรุ่งเมืองน้ำดำ จันทร์กระจ่าง  ส.สมญา ,ยอดมวยหญิง จอมยุทธหญิง เกียรติ นว. ,ยอดฝีมือจากกาญจนดิษฐ์ ส้มสะท้าน ลูกพ่อขุน , สวยสังหาร แอนเจริก้า  กามัน , เอื้องเหนือ เพชรยู  ศิษย์ครูดุล ,มิสมวยไทย กระยางขาว ศิษย์ปู่จันทร์  เป็นต้น และงานใหญ่วันแม่ 2548 ได้จัดงานใหญ่ชุมนุมยอดผีมือมวยหญิง ได้จัดทำวีซีดีออกมาจำหน่าย 1 ชุด แต่ก้อบูมอยู่ได้ไม่นานก้อเริ่มซบเซลงอีกรอบ ปัจจุบันนี้ก้อยังทำมวยสากลหญิงอยู่มีแชมป์ WBC ในสังกัดคือ สายน้ำดอย  ศิษย์จ่าแดง

          มาประมาณปี 2549 ช่วงคาบเกี่ยวเป็นขาลงของศึกวันทรงชัยมวยหญิงของโปรโมเตอร์หญิงปริยากร ศึกอัศวินดำ โดย พล ต.ต.เสวก ปิ่นสินชัย ได้มาหันจัดมวยมวยหญิงร่วมแจมรายการถ่ายทอดสดทางโมเดิร์นไนน์ หรือ ทีวีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. เดิมและก่อเกียรติ  พานิชยรมย์ ก้อหันมาสร้างมวยสากลอาชีพหญิงไต่บังลังค์โลก ศึกอัศวินดำมวยหญิงก้อบูมอยู่ได้ประมาณปีกว่า เนื่องจากมวยหญิงมีปัญหาจุกจิกหลายอย่าง แฟนมวยไม่ค่อยนิยมบ้าง เลยทำให้ศึกอัศวินดำต้องเพลา ๆ การจัดลง ส่วนก่อเกียรติกรุ๊ปยังยืนระยะการจัดมวยหญิงมาจนถึงปัจจุบันนี้สร้างแชมป์โลกมวยสากลหญิง เช่น อุษณากร ถวิลสุวรรณวัง , แฝด อมรา-ญาณี โรงเรียกีฬาอุบล , สวยดุ บัวริมบึงลูกจันทร์แดง

 

คำถาม ??  มวยไทยหญิงทำไมต้องลอดเชือก

ตำตอบ ...  ศิลปะมวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ที่ยึดมั่นอยู่กับ ความเชื่อมาตั้งแต่สมัยโบราณก่อนที่จะขึ้นชกบนเวที ต้องกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้คุ้มครองภัย จะสังเกตุว่าจะมีการร่ายคาถาที่บันไดและที่มุม ให้แคล้วคลาด เพื่อเป็นสิริมงคล และยังไหว้ระลึกถึงครู ผู้ประสิทธิประสาทวิชาให้ตนประสบชัยชนะ เหนือคู่ต่อสู้ เพราะฉนั้นจึงห้ามผู้หญิงขึ้นไปชกร่วมเวทีเดียวกัน เพราะเกรงว่ามนตราจะเสื่อม ซึ่งถือเป็น "จารีตประเพณี" และความเชื่อที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ปัจจุบัน มีการอลุ้มอล่วยมากขึ้นมีการให้สตรี ที่ฝึกและชื่นชอบศิลปะมวยไทย
ขึ้นชกในเวทีเดียวกันกับนักมวยชายได้ การที่นักมวยหญิงลอดเชือกขึ้นเวที น่าจะเป็นสิ่งที่ดี และเป็นการเดินสายกลางที่ถูกแล้ว

 

 

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 182,875 Today: 13 PageView/Month: 203

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...